วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วิธีการป้องกันอุบัติเหตุ

วิธีการแก้ไข-ป้องกันอุบัติเหตุ ที่ทุกคนควรรู้


ผู้ขับขี่ ต้องมีความรอบรู้เกี่ยวกับ

    * เรื่องรถ
    * เรื่องเส้นทาง
    * เรื่องวิธีการขับขี่รถ
    * เรื่องกฎจราจร
    * เรื่องมารยาทในการขับรถ


ผู้เดินถนนหรือประชาชนทั่วไปต้องมีความรู้เรื่อง

    * การเดินรถ
    * การข้ามถนน
    * การโดยสารที่ปลอดภัย


ผู้ขับขี่หรือผู้เดินถนน ถึงแม้ว่าจะมีความรู้เกี่ยวกับการจราจรแล้ว ก็ควรปฏิบัติตามด้วย


    * ต้องปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
    * ไม่ขับรถด้วยความประมาท มีความระมัดระวังในการขับรถ
    * ไม่ขับรถในขณะที่ร่างกายหย่อนสมรรถภาพ
    * ไม่ขับรถในขณะมึนเมาสุรา
    * ไม่ขับรถในขณะที่ทานยาประเภทมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการง่วงซึม เช่น ยาแก้อาการแพ้, ยาแก้ไข้หวัด


การป้องกันอุบัติเหตุจราจรที่เกิดขึ้นบ่อยๆ


        1.        เบรกแตก

วิธีแก้: ใช้เกียร์ต่ำในทันที หากจวนตัวมากอาจเปลี่ยนจากเกียร์ 4 มาเป็นเกียร์ 2 เลยก็ได้ ดึงเบรกมือช่วย พร้อมกับประคองพวงมาลัยรถให้อยู่ในบังคับเพื่อหลบหลีกรถอื่นๆ

  
        2.         ยางแตกหรือระเบิด

วิธีแก้: ต้องรีบเบารถทันที โดยเปลี่ยนเกียร์ลดลงเรื่อยๆ เพื่อให้เครื่องชะลอรถให้ช้าลง ในขณะที่รถยังมีความเร็วสูงอยู่อย่าเหยียบเบรก ต่อเมื่อรถช้าลงมากแล้วค่อยเหยียบเบรกโดยแตะเบาๆ แล้วแอบเข้าข้างทางเพื่อทำการเปลี่ยนยางใหม่

   
        3.         ขับรถขณะฝนตกหรือถนนลื่น

วิธีแก้: ควรชะลอความเร็วของรถให้ช้าลงกว่าปกติ และทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าให้มากขึ้น (จากปกติ 50 เมตร) เมื่อจะหยุดรถให้เปลี่ยนมาใช้เกียร์ต่ำเพื่อช่วยชะลอรถ อย่าเบรคโดยกะทันหันหรือหักพวงมาลัยรถอย่างฉับพลันเพราะอาจทำให้รถปัด หรือหมุนได้


        4.        การขับรถขึ้น-ลงเขา หรือเนินสูง

วิธีแก้: ต้องใช้เกียร์ต่ำแต่เครื่องยนต์จะทำงานหนัก ถ้าเครื่องดับและรถหยุดไหลจากเขา ต้องเหยียบเบรคหรือดึงเบรกมือช่วย ถ้าเป็นรถหนักหรือรถบรรทุกต้องใช้ไม้หนาๆ หนุนล้อทั้ง4 ล้อไว้เพื่อป้องกันรถไหล


        5.         การขับรถลงเขา  ลงเนินสูง และลงสะพานสูงๆ

ความเร็วของรถจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ มากกว่าปกติ อาจเกิดอันตรายได้ง่าย ฉะนั้นการขับรถลงจากเขาหรือเนินสูงๆ หรือลงสะพานสูงๆ ต้องลดเกียร์มาใช้เกียร์ต่ำ หากเครื่องยนต์ดับ ให้เหยียบเบรกให้รถหยุด และดึงเบรกมือหรือใช้ไม้ รองล้อทั้ง 4 ล้อไว้เพื่อป้องกันรถไหล


         6.        ห้ามแซง ในขณะที่กำลังรถ ขึ้น-ลงเขา หรือที่สูง เพราะจะมองไม่เห็นรถที่สวนมา


         7.        รถเสีย

วิธีแก้: ให้นำรถจอดแอบข้างทาง หรือเข็นไปจอดในที่ที่มีแสงสว่างให้รถผ่านไปมาเห็นได้ชัด และจะต้องเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน หรือไฟเหลืองกระพริบเตือนให้รถอื่นเห็น


         8.       รถชนกันกลางถนนเข็นเข้าข้างทางไม่ได้

วิธีแก้: ผู้ประสบอุบัติเหตุหรือประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงไม่ควรไปมุงดู เพราะอาจเกิดอันตรายจากรถที่วิ่งมาได้ง่าย ผู้ขับขี่หรือผู้ประสบเหตุจะต้องคอยให้สัญญาณเตือนแก่รถที่ผ่านไปมาห่างจากจุดเกิดเหตุพอสมควร ถ้าเป็นเวลากลางคืนต้องให้สัญญาณไฟและรีบแจ้งเหตุการณ์กับตำรวจโดยเร็ว



ที่มา: http://www.oknation.net/blog/kroolue/2007/04/15/entry-10

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ขับรถฝ่าไฟเหลือง ผิดกฎหมายนะ

โดยทั่วไปตามหลักสากล สัญญาณไฟจราจร  "ไฟเหลือง"  มีความหมายว่า เตรียมหยุด แต่สำหรับคนขับรถไม่ว่าจะรถยนต์หรือจักรยานยนต์ในไทย จะแปลว่า เหยียบเต็มแรง พุ่งออกไปเพื่อหนีไฟแดง

จาก ม.22 พ.ร.บ.จราจรทางบก กำหนดไว้ชัดเจนว่า
-          สัญญาณจราจรไฟสีเหลือง หมายความว่า ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วลงเพื่อเตรียมหยุดรถหลังเส้นหยุดรถ
-           สัญญาณจราจรไฟสีแดง หรือเครื่องหมายจราจรสีแดงที่มีคำว่า "หยุด"  ให้ผู้ขับขี่หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด
-          สัญญาณจราจรไฟสีเขียว หมายถึง ให้ขับรถต่อไปได้
-           สัญญาณจราจรไฟกะพริบ สีเหลืองอำพัน ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วของรถลง และผ่านทางเดินรถนั้นไป ด้วยความปลอดภัย
-            
แปลว่า ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร เมื่อมีสัญญาณไฟเหลือง ให้เตรียมตัวหยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด เพื่อปฏิบัติตามสัญญาณต่อไป ซึ่งปกติจะเป็นไฟแดง เมื่อมีสัญญาณไฟแดง ให้หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด


ตำรวจมีสิทธิจับได้ ตามกฎหมายกำหนดไว้ว่า ผู้ที่ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท !!!

อึ้ง!ไทยติดที่3ของโลก 'ประเทศที่มีคนตายจากอุบัติเหตุทางถนน'

โดย ไทยรัฐออนไลน์ 25 ก.ค. 2556 05:15





องค์การอนามัยโลกเผยรายงานสถานะประเทศไทยมีอัตราส่วนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นที่ 3 ของโลก มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน และเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เฉลี่ยทุกๆ 1 ชั่วโมงมีคนเจ็บ-ตาย 2 คน

เมื่อวันที่ 24 ก.ค.2556 นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือแห่งองค์การอนามัยโลกด้านการป้องกันอุบัติเหตุ เปิดเผยรายงานความปลอดภัยทางถนนของโลก พ.ศ.2556 (Global Status Report on Road Safety 2013) จัดทำโดยองค์การอนามัยโลก พบอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของไทยพุ่งสูงขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลก เสียชีวิตถึง 38.1 คนต่อประชากร 1 แสนคน รองจากประเทศเกาะนีอูเอ และสาธารณรัฐโดมินิกัน


นพ.วิทยา กล่าวว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน รวมจากทุกพาหนะและคนเดินเท้าแล้วถึง 13,766 คน จากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2554  (ปี ค.ศ.2010) เป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “แต่จากการประมาณการการเสียชีวิตจากอุบัติภัยบนท้องถนนของประเทศไทย โดยองค์การอนามัยโลก ในปี ค.ศ. 2010 สูงถึง 26,312 คน คิดเป็นอัตรา 38.1 ต่อประชากร 100,000 คน”


นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตของแต่ละประเทศ ด้วยบรรทัดฐานเดียวกันคือ จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อประชากร 1 แสนคน แล้วกลายเป็นว่า ไทยมีอัตราผู้เสียชีวิต 38.1 คนต่อจำนวนประชากร 1 แสนคน นับเป็นอันดับ 3 รองจากอันดับ 1 คือ นีอูเอ (Niue) มีอัตราผู้เสียชีวิต 68.3 คน ต่อจำนวนประชากร 1 แสนคน อันดับ 2  คือ สาธารณรัฐโดมินิกัน มีอัตราผู้เสียชีวิต 41.7 คนต่อจำนวนประชากร 1 แสนคน


โดยเมื่อวันที่ 14 มีนาคม องค์การอนามัยโลกได้เปิดเผยในรายงานความปลอดภัยทางถนนของโลก พ.ศ. 2556 (Global Status Report on Road Safety 2013)  ภาพรวมของการสำรวจจาก 182 ประเทศ มี 6 ประเทศที่ลดจำนวนผู้เสียชีวิตได้อย่างน่าชื่นชม ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สวีเดน และอังกฤษ ส่วนที่เหลืออีก 176 ประเทศ มี 88 ประเทศที่ลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุได้จริง ขณะที่ 87 ประเทศ อีก 1 ประเทศไม่ระบุ มีสถิติผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น ในรายงานยังบอกว่า 3 ใน 4 ของผู้เสียชีวิตเป็นคนหนุ่มสาวอายุระหว่าง 15-29 ปี  ถ้าแต่ละประเทศไม่ป้องกัน การเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุจะขึ้นมาเป็นอันดับ 5 ของการเสียชีวิตของคนทั้งโลกภายในปี พ.ศ. 2573


ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ที่ผ่านมา องค์กรอนามัยโลก ร่วมกับศูนย์ความร่วมมือระหว่างองค์การอนามัยโลกกับโรงพยาบาลขอนแก่น แถลงผลการรายงานสถานะความปลอดภัยทางถนนโลก ปี 2556 และจัดประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในหัวข้อ ทำไมประเทศไทยถึงมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุอยู่อันดับต้นของโลกเพื่อหา แนวทางแก้ไขและแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะในการบรรเทาผู้เสียจากอุบัติเหตุทางถนน ซึ่ง ดร.นิมา อัสการี รักษาการผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า


รายงานความปลอดภัยทางถนนของโลกปี 2556 (Global Stabal Report on Road 2013) พบอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของไทยพุ่งสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยมีผู้เสียชีวิต 38.1 รายต่อประชากร 1 แสนราย รองจากอันดับ 1 แสนราย อันดับ 2 คือ สาธารณรัฐโดมินิกัน มีอัตราผู้เสียชีวิต 41.7 รายต่อประชากร 1 แสนราย และองค์การอนามัยโลกกำลังเป็นห่วงในเรื่องนี้ เพราะจากตัวเลขยานพาหนะที่จดทะเบียนทั่วโลกมีมากขึ้นร้อยละ 15 และในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเป็น 1.24 ล้านราย


ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้ระดับต่ำถึง ระดับปานกลาง มียอดผู้เสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 33 บางประเทศสูงถึงร้อยละ 75 และจากการสำรวจระหว่างปี 2550-2553 ใน 182 ประเทศ มีประเทศออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สวีเดน และอังกฤษ ที่สามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุได้อย่างน่าชื่นชม


อย่างไรก็ตาม นพ.วิทยา กล่าวย้ำว่า เป็นที่น่าตกใจที่ข้อมูลของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2554 มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน รวมจากทุกพาหนะและคนเดินเท้าแล้ว แค่ 13,766 คน ต่างจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ที่ทำการประเมินในปีเดียวกัน มีจำนวนสูงถึง 26,312 ราย คิดเป็นอัตรา 38.1 ต่อประชากร 1 แสนราย เป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตัวเลขที่ต่างกันอาจเกิดจากวิธีการเก็บข้อมูลที่ต่างกัน แต่ก็มีความหมายเดียวกันว่า ปัญหาเรื่องอุบัติเหตุทางท้องถนนของประเทศไทย ถือว่าค่อนข้างวิกฤติมีคนเจ็บ คนตาย เฉลี่ยชั่วโมงละ 2คน และทุกคนมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเหมือนกัน



ที่มา https://www.thairath.co.th/content/359132




สถิติเกี่ยวกับปัญหารถติด

10 อันดับเมืองที่รถติดที่สุดในโลก By BBC

            1. Bangkok, Thailand
            2. Jakarta, Indonesia
            3. Nairobi, Kenya
            4. Manila, Phillipines
            5. Mumbai, India
            6. Kampala, Uganda
            7. Lexington, Kentucky, US
            8. Austin, Texas, US
            9. Seoul, South Korea
            10. Dhaka, Bangladesh